เครื่องดื่มเจลลี่

 

        ฟิน ฟินน เจลลี่ เป็นผลิตภัณฑ์ ต่อยอดจาก เครื่องดื่มกระชายผงสำเร็จรูปอัลบารอกัต โดยวิจัยร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการพัฒนาสูตร และกระบวนการผลิต ด้วยนวัตกรรมการสกัดที่ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามหลักการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ และปรับปรุงสูตรตามหลักการทางเภสัชกรรม เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดี มีกลิ่นและรสชาติ เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมทั้งมีการเติมวิตามิน และสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสุขภาพฮาลาล ที่มีความนิยมในกลุ่มเป้าหมาย สะดวกในการรับประทาน มีกลิ่นและรสชาตที่ดี นอกจากนั้น มีการเสริมสารอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นเพื่อช่วยในการส่งเสริมสุขภาพ โดยอาศัยองค์ความรู้จากภูมิปัญญา สมุนไพรไทย ผสมผสานเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ช่วยส่งเสริมการผลิตและการใช้สมุนไพรไทย ทั้งในระดับประเทศและสากล

        ฤทธิ์ต้านการอักเสบ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าสาร Pinostrobin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ที่ดีผ่านกลไกที่หลากหลาย เช่นการศึกษาของ Patel and Bhutani ในปี 2014 รายงานว่าสาร Pinostrobin มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสาร inflammatory mediator ทั้ง TNF- α และ IL-1β จาก macrophage cell (RAW 264.7) โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 17.28 ± 1.01 µM และ 23.51 ± 1.06 µM ตามลำดับ

        ทั้งนี้จากการศึกษาเพิ่มเติมโดยนักวิจัย พบว่าสารสกัดกระชาย มีผลยับยั้ง การหลั่งไนตริกออกไซด์ (NO) จากเซลล์ macrophage ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพ ในการยับยั้งอาการอักเสบ พบว่าสารสกัดมาตรฐานกระชาย มีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ดีกว่ายามาตรฐาน indomethacin (สารสกัดกระชายมี IC50 = 1.41±0.11 µg/mL ในขณะที่ยา indomethacin มีค่า IC50 = 27.96±0.32 µg/mL) โดยไม่พบการเป็นพิษต่อเซลล์ macrophage ที่ความเข้มข้น 100 µg/mL ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าว ยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย ของ Pinostrobin ในการลดอาการอักเสบและบวม

        ผลในการกระตุ้นเซลล์กระดูก จากการศึกษาของ Gu และคณะในปี 2017 ยืนยันผลของ Pinostrobin ในการช่วยบรรเทาอาการหรือรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยศึกษาผลของ Pinostrobin ต่อเซลล์ murine  pre-osteoblastic (MC3T3-E1) ซึ่งจากการทดสองพบว่า Pinostrobin ช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูก ในสภาวะที่ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตโดย Dexamethasone มีผลเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กระดูก โดยวัดจากปริมาณของ alkaline phosphatase ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ Pinostrobin ยังมีผลในการกระตุ้นการสะสม calcium ในเซลล์ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงช่วยยืนยันประสิทธิภาพของ Pinostrobin ต่อภาวะกระดูกพรุนได้ดี (Gu et al., 2017)ผลในการกระตุ้นเซลล์กระดูก จากการศึกษาของ Gu และคณะในปี 2017 ยืนยันผลของ Pinostrobin ในการช่วยบรรเทาอาการหรือรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยศึกษาผลของ Pinostrobin ต่อเซลล์ murine  pre-osteoblastic (MC3T3-E1) ซึ่งจากการทดสองพบว่า Pinostrobin ช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูก ในสภาวะที่ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตโดย Dexamethasone มีผลเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กระดูก โดยวัดจากปริมาณของ alkaline phosphatase ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ Pinostrobin ยังมีผลในการกระตุ้นการสะสม calcium ในเซลล์ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงช่วยยืนยันประสิทธิภาพของ Pinostrobin ต่อภาวะกระดูกพรุนได้ดี (Gu et al., 2017)

        สาร Pinostrobin มีฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ลดอาการบวม กระตุ้นเซลล์กระดูก ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง ยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ต้านไวรัส ต้านแบคทีเรีย ป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร การวิเคราะห์เบื้องต้นโดยวิธีทางโครมาโทกราฟี (LC-MS method) พบสาร Pinostrobin ในสารสกัดมาตรฐานกระชายที่ใช้ในการผลิตอยู่ที่ 9.6% w/w และการศึกษาเพิ่มเติมในเซลล์เพาะเลี้ยงพบว่าสารสกัดมาตรฐานกระชายมีฤทธิ์ที่ดีในการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการกระตุ้นให้เกิดการอักเสบได้ดีกว่ายามาตรฐาน indomethacin (สารสกัดกระชายมี IC50 = 1.41±0.11 µg/mL ในขณะที่ยา indomethacin มีค่า IC50 = 27.96±0.32 µg/mL) โดยไม่พบการเป็นพิษต่อเซลล์ macrophage ที่ความเข้มข้น 100 µg/mL สาร Pinostrobin เป็นสาร bioflavonoid ที่พบได้มากในกระชายมีฤทธิ์ที่ดีในการนำมาใช้บำรุงร่างกาย ในคนวัยทำงาน นักกีฬา หรือผู้สูงอายุ ผ่านหลากหลายกลไก

        จากการทดลองพบว่าสารสำคัญที่พบมากสที่สุดในสารสกัดกระชายคือสาร Pinostrobin (mass = 270.8) ที่ Retention time = 15.2 min โดยการวิเคราะห์เชิงปริมาณ เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานพบว่าสารสกัด 1 mg จะพบสาร Pinostrobin 0.096 mg (9.6% w/w)

นักวิจัย :      รศ.ดร.ภก.ภาณุพงศ์ พุทธรักษ์
หน่วยงาน :   ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้