องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือน! คนไทยเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" มากถึง 90%

องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือน! คนไทยเสี่ยง "โรคกระดูกพรุน" มากถึง 90%

อย่าปล่อยให้ “ โรคกระดูกพรุน ” คุกคามร่างกายโดยไม่รู้ตัว

        ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า “ โรคกระดูกพรุน ” เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญต่อผู้สูงอายุมากที่สุด ซึ่งเกิดจากความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง โครงสร้างของกระดูกบาง กระดูกมีความแข็งแรงน้อยลง ส่งผลให้มีโอกาสเปราะหักง่าย

        สำหรับอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนในเพศหญิงนั้นจะสูงถึง 1 ใน 3 โดยเฉพาะในกลุ่มที่หมดประจำเดือนและอายุเกิน 60 ปี ส่วนในเพศชายมีอัตราการเกิดโรคกระดูกพรุนประมาณ 1 ใน 5 ของกลุ่มผู้ที่อายุเกิน 60 ปี
ส่วนใหญ่ โรคกระดูกพรุน จะทำให้กระดูกสำคัญหักง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อมือ และต้นแขน ทั้งนี้โรคกระดูกพรุน มักไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ล่วงหน้ามาก่อน จึงนับว่าเป็น “ ภัยเงียบ ” ที่คุกคามร่างกายโดยไม่รู้ตัว
โดยกลุ่มเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน มักพบในผู้สูงอายุและสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน แต่หากพบโรคกระดูกพรุนในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยมักมีสาเหตุมาจากการมีโรคประจำตัว เช่น โรคที่เกี่ยวข้องกับเลือด โรคที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อการสร้างกระดูก และโรคทางพันธุกรรม ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้เกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมแต่เป็นเพราะการสร้างกระดูกผิดปกติ ที่อาจจะส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้เช่นกัน

เหตุใด “กระดูกพรุน” จึงเป็นภัยเงียบ

        โรคกระดูกพรุน นับเป็นภัยเงียบที่คุกคามร่างกายโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากโรคกระดูกพรุนไม่มีอาการเตือนใด ๆ ให้ระวัง จะทราบก็ต่อเมื่อกระดูกหักแล้ว หรือกระดูกสันหลังทรุด ซึ่งทำให้ปวดหลัง หลังค่อม ดูเตี้ยลง เคลื่อนไหวได้ลดลง นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนบางราย อาจมีภาวะอาการฟันหลุดได้ง่ายอีกด้วย

สาเหตุหลักของภาวะกระดูกพรุน

        สาเหตุของ โรคกระดูกพรุน เกิดจากภาวะที่ร่างกายขาดสารตั้งต้น ในการเสริมสร้างกระดูกที่สำคัญ ได้แก่

  • ขาดแคลเซียม หรือภาวะแคลเซียมน้อย
  • การขาดสารอาหาร และวิตามินดี ที่ร่างกายต้องการ
  • ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน จากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง
  • ออกกำลังกายน้อยเกินไป

        สำหรับการขาดแคลเซียมในคนไทยนั้น เกิดจากการที่คนไทยรับประทานแคลเซียมน้อยมากเฉลี่ยเพียงวันละ 361 มิลลิกรัม เนื่องจากอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวันมีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยแต่ละช่วงวัยมีความต้องการแคลเซียมในแต่ละวันต่างกันและเฉลี่ยตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ต้องการปริมาณแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน โดยในช่วงอายุ 0-30 ปีจะเป็นช่วงสะสมแคลเซียม อายุ 30-45 ปีเป็นช่วงที่พยายามรักษาระดับแคลเซียมให้อยู่ตัว

        หลังจากนั้นในช่วงอายุ 30 ปี ขึ้นไป ร่างกายจะไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป จึงต้องมีการเสริมแคลเซียมให้ร่างกายสามารถรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก และ เมื่อถึงอายุ 45 ปี จะเป็นช่วงที่มีการนำแคลเซียมในกระดูกมาใช้ ซึ่งต้องยอมรับว่าคนไทยส่วนใหญ่บริโภคอาหารที่มีแคลเซียมอยู่ไม่เพียงพอ เฉลี่ยเพียงแค่ประมาณ 400 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น เนื่องจากอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวันมีปริมาณแคลเซียมต่ำ จึงควรมีการบริโภคอาหารที่ให้แคลเซียมสูงมากขึ้น ได้แก่ งาดํา นม ชีส นมถั่วเหลือง กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย เต้าหู้อ่อน ผักคะน้า เมล็ดอัลมอนด์ บล็อกโคลี ถั่วขาว ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน เป็นต้น

        นอกจากนั้นเพื่อให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายมากและดียิ่งขึ้น ควรมีการเสริมวิตามิน D ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เนื่องจากวิตามิน D เป็นตัวพาแคลเซียมเข้ากระดูก ช่วยการดูดซึมแคลเซียมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถได้รับวิตามิน D ได้โดยตรงจากแสงแดดและอาหารประเภทปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู (mackerel) เนื้อวัว ชีส ไข่แดง เห็ด เป็นต้น ซึ่งหากได้รับวิตามิน D และ แคลเซียมอย่างเพียงพอจะช่วยลดความเสี่ยงจากกระดูกพรุนได้ถึง 30%

        ส่วนการป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ อาหารประเภท กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารรสเค็มจัด การรับประทานโปรตีนที่มากเกินพอดีเพราะจะไปขับแคลเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป พฤติกรรมบางอย่างเช่น การเลิกสูบบุหรี่ และ ควรออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ กินยาเสริมแคลเซียม วิตามินดี หรือ การให้ยายับยั้งการทำลายกระดูกถ้ามีความจำเป็นและต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น

        การกระตุ้นเซลล์กระดูก จากการศึกษาของ Gu และคณะในปี 2017 ยืนยันผลของ Pinostrobin ในการช่วยบรรเทาอาการหรือรักษาภาวะกระดูกพรุน โดยศึกษาผลของ Pinostrobin ต่อเซลล์ murine pre-osteoblastic (MC3T3-E1) ซึ่งจากการทดสองพบว่า Pinostrobin ช่วยกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์กระดูก ในสภาวะที่ถูกยับยั้งการเจริญเติบโตโดย Dexamethasone มีผลเพิ่มการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กระดูก โดยวัดจากปริมาณของ alkaline phosphatase ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ Pinostrobin ยังมีผลในการกระตุ้นการสะสม calcium ในเซลล์ได้ดีกว่า control และกลุ่มที่ได้รับ Estrogen อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงช่วยยืนยันประสิทธิภาพของ Pinostrobin ต่อภาวะกระดูกพรุนได้ดี (Gu et al., 2017)

        ฟิน ฟินน เจลลี่ เครื่องดื่มรสส้มผสมกระชายมีสารสกัด Pinostrobin เป็นงาน วิจัยร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งมีการพัฒนาสูตร และกระบวนการผลิต ด้วยนวัตกรรมการสกัดที่ทันสมัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามหลักการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีการควบคุมปริมาณสารสำคัญ และปรับปรุงสูตรตามหลักการทางเภสัชกรรม

(ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบไซท์กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ www.vejthani.com)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้